ถาม-ตอบ (Q&A)
การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาลเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียนสู่การเรียนการสอนอย่างเข้มแข็ง
โพสโดย
วัชระ
[email protected]
การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาลเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพ
การทำวิจัยในชั้นเรียนสู่การเรียนการสอนอย่างเข้มแข็ง
The Development of Education Administrational on Good Governments for Enhancing of Improving Classroom Research Competency toward
Instructional to Sustainable
       วัชระ  คงแสนคำ[1]
       Watchara  Koungsankam
บทคัดย่อ
ความรับผิดชอบ ความมีคุณธรรมและความมีส่วนร่วม เป็นการบริหารจัดการศึกษาที่เข้มแข็ง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)  สภาพปัญหาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล 2) การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล 3) ความเหมาะสมการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล 4) สมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนสู่การเรียนการสอนอย่างเข้มแข็งของครูผู้สอน 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 6) ความพึงพอใจในการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม กับประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 94 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม แบบประเมินและแบบศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t- test  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ F-test โดยใช้คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ประเด็นข้อค้นพบนำเสนอประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล มี 8 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามกฎ ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความสอดคล้อง ความเสมอภาค ประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการมีเหตุผล
3. ความเหมาะสมการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. สมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนสู่การเรียนการสอนอย่างเข้มแข็งของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2557 สูงกว่า ปีการศึกษา 2556 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจในการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์เชิงบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การบริหารจัดการศึกษาแบบธรรมาภิบาล  การวิจัยในชั้นเรียน  การเรียนการสอน
 
ABSTRACTS.
              The responsiveness, Morals and participatory of education administrational to sustainable. The objective to studies of; 1) the problem state of education administrational on good governments, 2) the development of education administrational on good governments, 3) the levels of development in education administrational on good governments, 4) the improving classroom research competency of teachers, 5) the achievement of students, 6) the content mental of development in education administrational on good governments. The methodology were to mixed and participatory action Learning to data from questionnaire, evolutional with the key information per as 94 persons due to data analysis on descriptive statistics, mean average, standard deviation, t-test, F-test. The fielding to shows:
1. The problem state of education administrational on good governments have to high levels.
 2. The development of education administrational on good governments to have 8 aspects as; participatory, rule of law, transparency, responsiveness, consensus oriented, equity and inclusiveness, effectiveness and efficiency and accountability.
3. The levels of development in education administrational on good governments have to most levels.
4. The improving classroom research competency of teachers have to high levels.
5. The achievement of students in 2014 more than in 2013 was to different with statistical significance at .05.
 6. The content mental of development in education administrational on good governments have to high levels and have manner relation to statistical significance at .05.
Key words: Education Administrational on Good Governments, Classroom Research, Instructional.


[1] ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโนนทองห้วยบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
 

โพสโดย : วัชระ
IP : 223.206.246.129
โพสเมื่อวันที่ : 19 ธ.ค. 2558,17:14 น.
แสดงความเห็น
ความคิดเห็น :
ชื่อ :
อีเมล์ :
เบอร์โทร :
กรอกรหัส :