ถาม-ตอบ (Q&A)
การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเสริมศักยภาพการจัดการเรียนสอนสู่ประสิทธิผลผู้เรียน อย่างเข้มแข็ง
การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
เพื่อสร้างเสริมศักยภาพการจัดการเรียนสอนสู่ประสิทธิผลผู้เรียน อย่างเข้มแข็ง
The Development of Technical Administrational based on Participatory Area for Enchasing of Instructional Potential to Students Efficiency to Sustainable
                                                                                                                      ตรีพินิจ  พินิจมนตรี[1]
          Treepinit Pinitmontree
 
บทคัดย่อ
การบริหารงานวิชาการ เป็นการมองไปข้างหน้าโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการพัฒนาที่มีศักยภาพและต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม 2) การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม 3) ความเหมาะสมการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม 4) ศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน 5) ประสิทธิผลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 6) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานและปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กับประชากรกลุ่มเป้าหมาย รวม 82 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  แบบประเมินและแบบศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t- test  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ F-test โดยใช้คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อค้นพบ นำเสนอ ประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  
2. การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม มี 5 ศักยภาพ ได้แก่ หลักคิดและพิจารณา คติฐานการพัฒนาของผู้บริหาร การบริหารงานแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ฐานคิดการจัดการเรียนการสอน สมรรถนะการพัฒนาครูและนักเรียน
3. ความเหมาะสมการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ประสิทธิผลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2556 สูงกว่า ปีการศึกษา 2555 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจต่อการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสัมพันธ์เชิงบวก เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : การบริหารงานวิชาการแบบยึดพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม, ศักยภาพการจัดการเรียนการสอน
 
Abstracts
            The technical administrational was to look at forwards of potential development process and dynamics. The objective to studies of; 1) the problem state of development of technical administrational based on participatory area, 2) the development of technical administrational based on participatory area, 3) the levels of development of technical administrational based on participatory area, 4) the potential to instructional of teachers, 5) the achievement of students 6) the content mental of development of technical administrational based on participatory area. The methodology were mixed and participatory action research with the key information to data by  questionnaire, evolutional, field study due to data analysis on  descriptive statistics, mean average, standard deviation, t-test, F-test. The fielding shows:
              1. The problem state of development of technical administrational based on participatory area have to most levels.
              2. The development of technical administrational based on participatory area were as; pillar thinks and consider, moral of area administrator base, instructional basic thing, competency of teachers and students.
              3. The levels of development of technical administrational based on participatory area have to most levels.
              4. The potential to instructional of teachers have to high levels.
              5. The achievement of students in 2014 more than in 2013 was to different with statistical significance at .05.
              6. The content mental of development of technical administrational based on participatory area have to most levels and have manner relation to statistical significance at .01.
Key words: Technical Administrational based on Participatory Area, Instructional Potential


[1] ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านฉนวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

โพสโดย : ตรีพินิจ
IP : 223.206.246.129
โพสเมื่อวันที่ : 19 ธ.ค. 2558,17:31 น.
แสดงความเห็น
ความคิดเห็น :
ชื่อ :
อีเมล์ :
เบอร์โทร :
กรอกรหัส :